วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

ต้นซ้อlขนมดอกซ้อ

ต้นซ้อ
ต้นซ้อ Gmelina arborea Roxb.  Lamiaceae (Labiatae)
ชื่ออื่น แก้มอ้น (ชุมพร,อุดรธานี); ช้องแมว (ชุมพร,ปราจีนบุรี, ราชบุรี,สุพรรณบุรี); เซาะแมว (นราธิวาส); แต้งขาว (เชียงใหม่); เป้านก (อุตรดิตถ์); เฝิง (เพชรบุรี,เหนือ); ม้าเหล็ก (กาญจนบุรี); เมา (สุราษฎร์ธานี); สันปลาช่อน (สุโขทัย)
ซ้อ หรือ GMELINA ARBOREA ROXB. อยู่ในวงศ์ VERBENACEAE 
ต้นซ้อยามออกดอก

ต้นซ้อ เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ประมาณ 20 ม. ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับฉาก รูปไข่ ยาว 7-20 ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบรูปลิ่มกว้าง แผ่ออกคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีนวลและมีขนสั้นนุ่ม เส้นแขนงใบ 3-5 คู่ ออกจากโคน 1 คู่ ก้านใบยาว 3-10 ซม เป็นร่องด้านบน
ดอกซ้อ
ดอกซ้อ ช่อดอกซ้อเป็นแบบช่อ กระจุกแยกแขนงสั้นๆ ออกตามปลายกิ่ง มี 1 หรือหลายช่อ ยาว 7-15 ซม. ใบประดับหลุดร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 0.3-0.4 ซม. ปลายกลีบรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ด้านนอกมีขน ติดทน กลีบดอกสมมาตรด้านข้าง รูปปากแตรโป่งด้านเดียว ยาว 2-4 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบบน 2 กลีบ กลีบล่าง 3 กลีบ ไม่เท่ากัน ด้านนอกมีสีน้ำตาลแดง ด้านในหลอดกลีบสีครีมอ่อนๆ กลีบปากล่างกลีบกลางด้านในมีสีเหลืองแซม มีขนสั้นนุ่มด้านนอก ด้านในเกลี้ยง เกสรเพศผู้ สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน ยื่นไม่พ้นปากหลอดกลีบดอก ก้านเกสรเพศผู้ติดบนหลอดกลีบดอกตรงประมาณกึ่งกลาง รังไข่เกลี้ยง มีต่อม ยอดเกสรเพศเมียมี 2 แฉกไม่เท่ากัน
ผลของซ้อ
ผลต้นซ้อ ผลแบบเมล็ดเดียวแข็ง สุกสีเหลือง รูปไข่หรือรูปไข่ ยาว 1.5-2 ซม. ซ้อหินมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา เนปาล บังคลาเทศ ภูฎาน พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยพบกระจายทั่วทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และป่าดิบชื้น ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1500 เมตร

สรรพคุณของซ้อ  เปลือกของต้นซ้อสามารถแก้โรคผิวหนัง ผื่นคันตามร่างกายได้
ขนมดอกซ้อ
ขนมดอกซ้อ ดูวิธีทำได้จากคลิปดังต่อไปนี้ค่ะ


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น