วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

เฉาก๊วยนะไม่ใช่เฉาก๋วย

ต้นเฉาก๊วย

 เฉาก๊วย นะ ไม่ใช่เฉาก๋วย เห็นหลายๆ คนพิมพ์ผิดนะ
เฉาก๊วย เป็นอาหารหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งมีแพร่หลายในประเทศจีน จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เฉาก๊วยเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นทั้งในอาหารหวาน และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สำหรับในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นอาหารหวานระดับพื้นบ้าน เนื่องจากมีการจำหน่ายทั่วไปในชุมชนเมืองทั่วประเทศ ส่วนในภาษาจีนกลางจะเรียกว่า ´เหลียงเฝิ่น´ หรือ ´เซียนเฉ่า´ ที่แปลว่าหญ้าเทวดา ขณะที่ชาวมาเลย์จะเรียกว่า ´จินเจา´ เป็นต้น
ต้นเฉาก๊วยแห้ง

ต้นเฉาก๊วยที่ใช้ได้จะมีขนาดความสูงประมาณสองฟุต สมัยก่อนไทยต้องสั่งต้นเฉาก๊วยแห้งจากเมืองจีน มาทำเฉาก๊วยปีละนับล้านบาท มา ๒๐ ปี นี้เอง จึงมีคนไทยนำพันธุ์เฉาก๊วยมาปลูกในเมืองไทย ทำรายได้ให้แก่ผู้ปลูกไม่น้อย
การผลิตเฉาก๊วยให้อร่อย ต้องใช้ต้นเฉาก๊วยถึง 3 สายพันธุ์  คือต้นเฉาก๊วยจากจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม เหตุเพราะมีความแตกต่างกันทางคุณลักษณะ คือ เฉาก๊วยเวียดนามจะมีความหวานมากกว่า ส่วนอินโดนีเซียจะให้ความเหนียวนุ่ม และของจีนก็ใช้สำหรับผสมเพื่อให้รสกลมกล่อม
วิธีทำเฉาก๊วย
เฉาก๊วย เป็นผลผลิตต่อเนื่องจากการแปรรูปต้นเฉาก๊วย ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ Lamiaceae (วงศ์มิ้นท์) วงศ์เดียวกับ สะระแหน่ กะเพรา โหระพา แมงลัก และ ยี่หร่า
เฉาก๊วยเย็นๆจร้า

วิธี ทำเฉาก๊วยอย่างง่ายๆ คือ นำต้นเฉาก๊วยแห้งมาต้ม จนยางไม้และแพคตินละลายออกมาได้น้ำสีน้ำตาลดำ เรียกว่า ชาเฉาก๊วย จากนั้นก็กรองเอาแต่น้ำ แล้วนำไปผสมกับแป้งพืช เพื่อให้เฉาก๊วยคงตัวเป็นเจลลี่ ซึ่งส่วนประกอบนั้น แต่ละเจ้าจะมีสูตรของตนเอง วิธีที่เป็นต้นตำรับโบราณนั้น นิยมผสมกับแป้งท้าวยายม่อม และแป้งมันสำปะหลัง อัตราส่วนตามความเหมาะสม โดยแป้งมันจะทำให้เนื้อเฉาก๊วยนิ่ม (ใส่มากจะเหลว) ส่วนแป้งท้าวยายม่อมจะให้เนื้อเฉาก๊วยคงรูปได้นาน อาจปรับปรุงโดยใส่แป้งข้าวเจ้าเพื่อให้แข็งตัวขึ้น หรือเพิ่มแป้งข้าวเหนียวให้มีความหนุบหนับ หรือใส่ส่วนผสมอื่นๆ ก็ได้ ปัจจุบัน มีผู้ค้าบางรายใส่สีผสมอาหารให้สีดำเข้มบ้าง ใส่วุ้น-เจลาติน เพื่อประหยัดต้นทุนก็มี

หรือมีอีกวิธีโดยละเอียด คือ

ส่วนผสมของเฉาก๊วย

1. หญ้าเฉาก๊วยแห้ง 1/2 กิโลกรัม
2. น้ำสะอาด 18 ลิตร (1 ถัง)
3. แป้งมันสำปะหลัง

วิธีทำ

1. นำหญ้าเฉาก๊วยแห้งมาล้างให้สะอาด เพื่อให้ทรายหรือสิ่ง
แปลกปลอมอื่น ๆ ออกหมด แล้วนำไปใส่ปี๊บหรือถังสแตนเลส
เติมน้ำสะอาดลงไป

2. นำไปต้มด้วยไฟปานกลาง ใช้ไม้พายคนเรื่อย ๆ ไม่ให้น้ำล้น
ออกมา ใช้เวลาเคี่ยวประมาณ 4 ชั่วโมง ก็จะได้น้ำเฉาก๊วยที่ดำ
และเข้มข้น

3. เทน้ำเฉาก๊วยที่ได้ออกพักในหม้อ รอให้เย็น ซึ่งเมื่อเย็นแล้ว
จะมีความเข้มข้นมากกว่าเดิม แล้วจึงนำมากรองเอากากออก
โดยใช้ผ้าขาวบางรองซ้อนกัน 3 ชั้น วางบนปากภาชนะ เทน้ำ
เฉาก๊วยกรองผ่านผ้าลงไป โดยกรอง 3 ครั้ง แต่ละครั้งพยายาม
คั้นกาก ให้น้ำออกมามาก ๆ เพื่อจะได้มีความดำและเหนียวมาก ๆ

4. อาจจะเติมแป้งมันสำปะหลังลงไปในน้ำเฉาก๊วยเพื่อช่วยให้
เฉาก๊วยแข็งตัวเป็นก้อนมากขึ้น

5. นำไปตักแบ่งรับประทานตามใจชอบ
การ รับประทานเฉาก๊วยแต่เดิมชาวจีนจะกินกับน้ำตาลทรายแดง โดยเอามาคลุกกับน้ำตาลให้เข้ากัน คนไทยนำมาดัดแปลงโดยหั่นเป็นชิ้นๆ ใส่ในน้ำเชื่อมและน้ำแข็ง กินกับข้าวโพด ลูกชิด หรือลูกตาลเชื่อมก็ได้
สรรพคุณของเฉาก๊วย
เช่นเดียวกับพืชอื่นๆในวงศ์ มิ้นท์ เฉาก๊วยยังมีสรรพคุณแก้ร้อนในกระหายน้ำ แต่เนื่องจากมีระดับของน้ำมันหอมระเหย และสารออกฤทธิ์ ในระดับที่ต่ำกว่าตระกูลกระเพราเป็นอย่างมาก จึงส่งผลให้เฉาก๊วยไม่มีฤทธิ์ขับลม หรือบรรเทาปวด เหมือนดังที่มีในพืชตระกูลกระเพรา-โหระพา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น