วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

TEC Lingo Mouseเมาส์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก

เจ้าเมาส์ตัวที่ว่านี้นับได้ว่าเป็นเมาส์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก มีสัดส่วน 27.5x60x19 มิลลิเมตร รายละเอียดโดยคร่าวของตัวเมาส์นี้จะมี DPI เพียงแค่ 800DPI เป็นระบบไร้สาย 2.4Ghz รับสัญญาณได้ไกลสุดที่ระยะ 32.8 feet หรือประมาณ 10 เมตร ซึ่งแบตเตอรี่สามารถใช้ได้นานถึง 15 ชมและจะมีระบบปิดตัวเองอัตโนมัติ 5 นาทีหากไม่ได้ใช้งานใดๆ ต่อไปคงจะต้องได้ยินคนพูดว่า โอ๋!! ฉันเอาเมาส์ไปไว้ที่ไหนเนี่ย ถ้าคุณอยู่แถวนั้นก็ช่วยตอบเขาไปทีว่า แล้วที่ใช้พูดอยู่นั้นไม่ใช่หรอ

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เยาวชนของชาติใครกันรับผิดชอบ

 เรยา ตัวอย่าง หรือ เอาอย่าง


จากประเด็นร้อนในตอนนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง เรยา  ในละคร ดอกส้มสีทอง ซึ่งในละครเรื่องนี้ มีการแสดงที่เน้นสื่อในตัวของเรยาเป็นตัวเด่นของเรื่อง มีหลายฉากที่ทำให้ผู้ปกครองทางบ้าน และหลายๆคนออกความเห็นว่า ไม่เหมาะสมให้แสดงอย่างนั้น เช่น ฉากที่เรยาตะหวาดแม่ของตัวเองอย่างรุนแรง ฉากที่เรยากอดจูบกับคุณใหญ่ (ตัวเอกฝ่ายชายของเรื่อง) ฉากที่เรยาหลอกใช้แม่ตัวเองให้ออกจากบ้าน แบบว่าลูกหลอกใช้แม่ดูไม่ค่อยคุ้นเคยในสายตาคนไทยเท่าไร หลายฝ่ายออกมาตอบโต้กับเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งมี 2 ฝ่ายด้วยกัน คือ ฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้าน ในหลายรายการมีการนำเสนอโดยการเชิญ ผู้มีศักยภาพทางด้านความคิดมาไขข้อข้องใจ และหาทางออก ซึ่งผู้ที่ถูกเชิญมาก็ประกอบด้วย 2 ฝ่าย มาดูความเห็นของผู้มีศักยภาพทางด้านความคิดของแต่ละฝ่ายคิดกัน
ฝ่ายละคร
1. สองทุ่มกว่าแล้ว เด็กส่วนมากเข้านอนกันหมดแล้ว ผู้ปกครองควรให้เด็กนอนได้แล้ว (คำว่าเด็กของผู้ที่ออกมาพูมักพูดว่า เด็กต่ำกว่า 15 แต่ผู้เขียนคนหนึ่งพูดได้เลยว่า 18 ปี บางคนก็ยังไม่พ้นของคำว่าเด็ก เพราะวุฒิภาวะของคนแต่ละคนไม่เท่ากัน)
2. ผู้ปกครองดูไปก็ควรสอนเด็กไป ว่าอย่างนี้มันไม่ดีนะ อย่าเอาเป็นตัวอย่าง (ปัจจุบันหลายบ้านที่ดูทีวีคนละเวลา หลายบ้านที่มีทีวีในห้องลูก ซึ่งสื่อเองก็เป็นคนเสนอว่า ไม่ควรให้มีทีวีในห้องลูก ก็ในเมื่อสื่อรู้อย่างนี้ ทำไมไม่ช่วยกันป้องกัน กับเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดขึ้น)
3. การแสดงที่สื่อ ได้มีความตั้งใจให้คนดูดูว่า เรยา เป็นคนเลว (แต่มีหลายคน ไม่ใช่เด็กนะ ที่คิดว่าเรยา มีมุมดี น่าสงสาร ฯลฯ ไม่เชื่อลองค้นหาจากเน็ตดูได้ก่อนหน้าที่จะมีข่าวแบนละครเรื่องนี้ มีคนดูบางคนมาโพสต์ถามว่าเรยาน่าสงสารไหม อะไรประมาณนี้ ไม่รู้ว่าที่ละครสื่อสื่อให้เรยาเลว หรือ เป็นคนไม่ค่อยดีกันแน่)
4.ละครก็มาจากเรื่องจริงทั้งนั้น ที่ละครนำเสนอก็มีอยู่ทั่วๆไปในสังคมไทย (อยากถามว่า เรื่องจริงบางอย่างถ้ามันมีผลกระทบ เราควรที่จะนำเสนอไหม ยกตัวอย่างเช่น ตอ-แหล เมื่อก่อนตอนเด็กจำได้ว่าดูละคร ไม่เคยเจอคำนี้ แต่ปัจจุบันมากเหลือเกิน มันทำให้เราพูดคำคำนี้ได้ง่ายขึ้น)
5. ดูละครให้ย้อนดูตัว (หลายๆ คนคงเคยได้ยิน เหมือนกันกับผู้ปกครองเลี้ยงลูกบอกห้ามใช้คำว่า กู แต่พูดกับคนในบ้านว่า กู ลูกมันจะใช้คำว่าอะไร บางคนบอกแล้วมันเกี่ยวไรกับดูละครย้อนดูตัว คือ ใครๆ ก็บอกว่า สื่อ มีความสำคัญกับสังคมปัจจุบันมีอิทธิพลกับบุคคลทุกเพศทุกวัย แต่พอเกิดเรื่องนี้กับบอกว่า ผู้ปกครองต้องสอนเด็ก ผู้ปกครองยังโดนอิทธิพลสื่อเล่นงานเลยจะเอาอะไรไปสอนเด็กเล่า)


ฝ่ายต่อต้านละคร
1. ละครทำออกมา ทำให้เด็กที่ดูเอาเป็นเยี่ยงอย่างแรงเกิน(สื่อเขาจะสื่อออกมาอย่างไรนั้น เราเป็นผู้ปกครองเราต้องหาทางแก้ไข เราต้องรู้ทันสื่อ และรู้ทันความคิดลูกของเรา รู้ว่าลูกเราดูฉากนี้แล้วเขารู้สึกอย่างไร เขาคิดอย่างไร เราก็ต้องพยายามสอนสิ่งที่มันมีประโยชน์ พ่อแม่บางคนเลี้ยงลูกไม่เคยสอน พอลูกทำไม่ดีก็โทษแต่คนอื่น โทษสื่อ โทษเพื่อน โทษครูอาจารย์  )

ผู้เขียน ไม่ได้เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ผู้เขียนกำลังจะใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ท สื่อให้หลายๆ คนทราบว่า ตอนนี้สังคมของเราทำอะไรกันอยู่  ต่างฝ่ายต่างเกี่ยงกันรับผิดชอบต่อสังคม ต่อเยาวชน ซึ่งมันเป็นหน้าที่ของทั้งสองฝ่าย เราควรร่วมมือกันป้องกันและแก้ปัญหาให้เยาวชนดู ไม่ใช่มานั่งโต้ตอบกันว่าอันนี้ดี อันนี้ไม่ดี ขนาดผู้ใหญ่ยังไม่รู้เลยว่าอันไหนดี แล้วเด็กมันจะรู้ได้อย่างไรกันเล่า พอทีเถอะผู้ใหญ่ที่ใช้ความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ ฉันคิดว่าเหมาะสม คือเหมาะสม  ฉันคิดว่าไม่เหมาะสมคือไม่เหมาะสม แล้วเด็กล่ะ เขาจะเลือกเชื่อใคร ในเมื่อก็เป็นผู้ใหญ่มีวุฒิภาวะกันทั้งสองฝ่าย ทำไมไม่ร่วมมือกันแก้ปัญหา มาโต้แย้งกันผ่านรายการโน้นรายการนี้กันทำไม แต่ก็น่าแปลกที่มีสองฝ่ายที่ออกมาพูดแต่ทำไมไม่มีฝ่ายที่สาม คือ เรามาร่วมแก้ปัญหา  มีอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนอยากบอกว่า หนังและอินเตอร์เน็ท มีอะไรต่อมิอะไรที่สื่อไปในทางเสี่ยงต่อเยาวชนเยอะมาก แต่สื่อโทรทัศน์ น่าจะเป็นสื่อที่ควบคุมได้ เราควรควบคุม อย่าให้สื่อโทรทัศน์มีลักษณะคล้ายสื่ออินเตอร์เน็ทเลย เพราะมันมีทั้งสื่อสร้างสรรค์ และสื่อไม่สร้างสรรค์ ผู้ใช้จึงต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม อย่าให้สื่อโทรทัศน์ต้องถึงกับขนาดนั้นเลย
by JH